คำศัพท์ที่สนใจ

HOSTING

Hosting คืออะไร (โฮสติ้ง) ความหมาย Hosting ง่ายๆ คือ การเก็บข้อมูล โดยฝากไว้กับ เครื่อง server ที่ให้บริการ upload ข้อมูล โดยผ่านทาง อินเตอร์เน็ต โดย ข้อมูล นั้นก็คือ ข้อมูลต่างๆ ของ web site ซึ่ง user สามารถ เข้ามาชม website ของผู้ที่ฝากไว้ใน เครื่อง server


ความรู้เกี่ยวกับ Hosting

Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) ในเมืองไทย ตอนนี้ก็มีมากมาย หลายเจ้าเหลือเกิน น่าจะเกิน 3000 รายได้ แข่งขันกันน่าดู บางเจ้าถึงกับ ยอมขาดทุน ตัดราคา คู่แข่ง จนสุดท้ายก็ไปไม่รอดก็มี บางเจ้าก็ ลงทุนเสียค่า โฆษณา ไม่รู้เดือนหนึ่ง กี่พันกี่หมื่น บางเจ้าก็ เล่นเอาง่ายๆ เอา เครื่องพีซี ธรรมดา มาทำเป็น เครื่อง server (โดยเฉพาะ นักศึกษาหารายได้พิเศษ) ใช้ไปได้กี่เดือน เครื่องมีปัญหา ความร้อน บ้าง harddisk พังบ้าง เครื่องแฮงค์ ไปเฉยๆ ไม่รู้สาเหตุก็มี ปัญหาเรื่อง hosting มีมากมาย เหลือเกินจะพรรณา ทั้งเรื่อง บริการ ทั้ง ด้านเทคนิค ต้องคอย ตอบปัญหา แก่ลูกค้า ซึ่งบางครั้ง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง web hosting เลยก็มี โดยเฉพาะ เรื่อง การทำเว็บไซต์ ซึ่งหลายๆเจ้า มักจะเจอ ปัญหา นี้ แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ ลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ คนเราต้องสู้ชีวิตกันทุกคน ยังไงก็ต้อง รักษา ลูกค้า ไว้ให้อยู่กับเรา นานที่สุด

 

DNS(DOMAIN NAME SYSTEM

Domain Name System (DNS) คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client

Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก

Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative

 

IP ADDRESS

IP Address คืออะไร  
       IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

 

ISP

ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้ 
ประเภท
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ชื่อเครือข่าย

เชิงพาณิชย์ (Commercial)

ชมะนันท์เวิล์ดเน็ต CMN
เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต KSC
ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) Reach (TH)
จัสมินอินเทอร์เน็ต JI-Net
ซีเอส ล็อกซอินโฟ CS Loxinfo
ดาต้าลายไทย Dataline
ฟาร์อิสท์ อินเทอร์เน็ต Far East
รอยเน็ท อินเทอร์เน็ต Roy-Net
แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (เวิลด์เน็ท) Pacific Internet
อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ ISSP
สามารถอินโฟเน็ต Samart
อินเทอร์เน็ตประเทศไทย Internet Thailand
อี่-ซี่ เน็ต E-Z Net
เอเชีย อินโฟเน็ท (ทรู อินเทอร์เน็ต) Asia InfoNet
เอ-เน็ต A-Net
ไอเดียเน็ต IdeaNet
ไออีซี อินเทอร์เน็ต Asia Access
บริษัท กสท โทรคมนาคม CAT
สถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial) เครือข่ายไทยสาร ThaiSarn
เครือข่ายคนไทย Khonthai
เครือข่ายพับเน็ต PubNet
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT
เครือข่ายยูนิเน็ต UniNet
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ GITS

 

 

WEB SERVIR

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ

เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

การใช้งาน Web Server 
  1. เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Firefox, Google chome
  2. เครื่องไคลแอนท์จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป็นไอพีแอดเดรส
  3. เครื่องไคลแอนท์ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
  4. เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 อันดับแรก คือ

 

 

 

 

กลับหน้าหลัก